แนวคิด 40 ข้อ พ่ออยากสอนลูก

  1. คนจนที่เห็นแก่ตัว จะชอบเรียกร้องเอาเงินเดือน ตำแหน่ง สูงๆ จากบริษัท โดยที่ไม่เคยคิดเลยว่า พวกเขาทำสิ่งต่างๆ ดีพอหรือยัง ทุ่มเทมากพอหรือยัง
  2. คนจน ส่วนมากมักคิดว่า “ฉันทำไม่ได้” แต่คนรวยกลับคิดว่า “ฉันต้องทำอย่างไรดี”
  3. คนจนส่วนใหญ่ ชอบคิดว่าคนรวยเห็นแก่ตัว ทั้งที่ความจริง คนรวยที่มีน้ำใจนั้นเยอะมาก แต่คนจนที่เห็นแก่ตัว ชอบเอาเปรียบคนอื่นก็มีไม่น้อย ดังนั้น ความเห็นแก่ตัวไม่ได้วัดกันที่ฐานะการเงิน
  4. คนจน เมื่อเจอของที่อยากได้ จะพูดว่า “เราไม่มีปัญญาซื้อหรอก” แต่คนรวยจะตั้งคำถามว่า “ต้องทำอย่างไรถึงจะมีปัญญาซื้อ”
  1. ชีวิตมีสองทางเลือก อย่างแรก ทุ่มเททุกสิ่งเพื่อไปสู่ความสำเร็จที่เราตั้งไว้ อย่างที่สอง ดับฝัน แล้วก้มหน้าทำงานไปวันๆ ไม่ต้องคิดอะไร
  2. พ่อจนสอนว่า “ลูกต้องตั้งใจเรียนนะ จะได้ทำงานบริษัทที่มั่นคง” แต่พ่อรวยสอนว่า “ลูกจงตั้งใจเรียนนะ จะได้ซื้อบริษัทที่มั่นคงได้ในอนาคต”
  3. จำไว้นะลูก การใช้เงินของตัวเอง จะสะท้อนให้เห็นตัวตนว่า เราเป็นคนรวย คนชั้นกลาง หรือคนจนกันแน่
  4. พ่อจนสอนว่า “การรักเงินนั้น เป็นบ่อเกิดความชั่วร้าย” แต่พ่อรวยนั้นสอนว่า “การขาดเงินต่างหาก ที่เป็นบ่อเกิดของความชั่วร้าย”
  5. พ่อจน จะไม่พูดเรื่องเงินตอนกินข้าว ส่วนพ่อรวย ชอบคุยเรื่องเงินขณะกินข้าว
  6. พ่อจนสอนว่า “คนรวยควรเสียภาษีมากๆ เพื่อช่วยคนที่เขาไม่มี” แต่พ่อรวยสอนว่า “ภาษีนั้นให้รางวัลคนขี้เกียจ ทำโทษคนขยัน”

11. พ่อจนบอก “พ่อไม่รวยเพราะพ่อมีลูกไงล่ะ” แต่พ่อรวยบอก “พ่อต้องรวยเพราะว่าพ่อมีลูก”

12. พ่อจนบอก “เรื่องเงินทอง ต้องปลอดภัยไว้ก่อน” แต่พ่อรวยบอก “ต้องรู้จักวิธีจัดการกับความเสี่ยง ที่กำลังจะเกิดขึ้น”

13. พ่อจน “ประหยัดทุกบาทเพื่อสะสมเงิน” แต่ว่าพ่อรวย “ใช้ทุกบาททุกสตางค์ เพื่อการลงทุนให้เงินงอกเงย”

14. พ่อจนบอกว่า “บ้านเป็นการลงทุน เป็นทรัพย์สินที่ใหญ่ที่สุด” แต่พ่อรวยกลับบอกว่า “บ้านไม่ใช่การลงทุน แต่มันคือหนี้สินที่ใหญ่ที่สุดต่างหาก”

15. พ่อจน ชำระหนี้เป็นสิ่งแรก พ่อรวย ชำระหนี้เป็นสิ่งสุดท้าย (แต่ไม่ใช่หนีหนี้นะ)

16. พ่อจนบอก “เรียนเพื่อให้ได้เงินเดือนสูงๆ นะลูก” แต่พ่อรวยบอก “เรียนเพื่อรู้วิธีใช้เงินทำงานแทนเรานะลูก”

17. พ่อจนสอนวิธีเขียนประวัติส่วนตัว เขียนยังไงให้ได้งาน แต่พ่อรวย สอนวิธีเขียนแผนธุรกิจ แบบใดจึงสร้างงาน

18. พ่อจนบอก “ชาตินี้ไม่มีวันรวยหรอก” พ่อรวยบอก “คนรวยเขาไม่คิดเช่นนี้นะ”

19. พ่อจนบอก “เงินไม่สำคัญหรอกลูก” พ่อรวยบอก “คนที่พูดแบบนั้น ทุกวันนี้ยังต้องทำงานงกๆ หาเงินอยู่เลย”

20. พ่อจนบอก “พ่อไม่ทำงานเพื่อเงิน” พ่อรวยบอก “พ่อใช้เงินทำงานให้พ่อ”

21. ถ้าอยากทำงานเพื่อเงิน ไปเรียนเอาที่โรงเรียนก็ได้ แต่หากต้องการให้เงินทำงานแทนเรา ต้องเรียนรู้จากชีวิตจริง

22. การเรียนรู้วิธีใช้เงินทำงานแทนเรา ต้องเรียนรู้กันอยู่ตลอด ไม่มีจบสิ้น นั่นเพราะโลกเราเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

23. กระแสเงินสด เป็นเรื่องราวที่บอกเล่าถึง วิธีจัดการกับเงินของแต่ละคน

24. คนรวย ให้ความสำคัญกับทรัพย์สิน แต่สำหรับคนทั่วไป สนใจแค่รายได้ในแต่ละเดือน

25. อย่าให้อารมณ์เป็นตัวกำหนดการกระทำของเรา ควรใช้สมองกำหนดการกระทำดีกว่า

26. การได้งานทำ คือการแก้ปัญหาระยะสั้น ทุกคนรอเพียงวันเงินเดือนออก ปล่อยให้เงินมีอำนาจเหนือชีวิต พวกเขาไม่เคยคิดเลยว่า มีวิธีใดที่จะได้เงินมากกว่านี้

27. ธุรกิจใดแก้ปัญหาให้ผู้คนได้มาก ธุรกิจนั้นก็จะยิ่งร่ำรวย

28. ถังแตก มันเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” แต่ความจน นั้นมัน “ถาวร” (หรือจนกว่าเราจะเปลี่ยนวิธีคิด)

29. ทรัพย์สิน เป็นอะไรก็ตามที่ทำให้เงินเข้ากระเป๋า แต่หนี้สิน คือสิ่งที่ทำให้เงินไหลออกไปจากกระเป๋าเรา

30. โรงเรียนมีไว้ผลิตลูกจ้างชั้นดี ไม่ได้มีไว้ผลิตนายจ้างชั้นเยี่ยม

31. การมีเงินเยอะไม่สำคัญเท่า การรู้จักวิธีรักษาให้มันอยู่กับเราไปตลอด

32. พ่อจน เน้นให้อ่านตำราเรียน ส่วนพ่อรวย เน้นให้ลูกเรียนรู้เรื่องการเงิน

33. คนรวย เพิ่มทรัพย์สิน คนทั่วไป เพิ่มหนี้สิน เพราะเข้าใจว่าเป็นทรัพย์สิน

34. เครื่องวัดฐานะทางการเงิน คือ หากเราหยุดทำงาน จะมีเงินใช้ได้อีกนานแค่ไหน

35. อุปสรรคในเรื่องเงิน ส่วนใหญ่มาจาก เรายอมทำงานให้ความฝันคนอื่น ไม่ได้ทำงานเพื่อความฝันของตัวเอง

36. คนทั่วไปไม่กล้าเสี่ยงมากนัก จึงทำให้พวกเขายึดติดกับตำแหน่ง หน้าที่การงานและเงินเดือน นั่นเพราะเขารู้สึกว่า มันปลอดภัยและมั่นคงที่สุด

37. เมื่อเราทำงานเพื่อเงิน อำนาจเราจะอยู่ในมือของเขา แต่หากเราใช้เงินทำงาน อำนาจจะอยู่ในมือของเรา อยากมีชีวิตแบบไหน เราเป็นคนกำหนดเอง

38. หลายคนไม่รู้สึกถึงความต่าง ระหว่างเราทำธุรกิจอะไร กับเราทำอาชีพอะไร

39. คนรวยซื้อความสบายทีหลัง แต่คนทั่วไปจะซื้อความสบายเป็นสิ่งแรก

40. จงสร้างฐานะ ด้วยการลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ใช้เงินทำงานแทนเรา และควบคุมไม่ให้เงินไหลออกไปทางอื่น