เสรีภาพ

ถึง ลูกรัก

พ่อติดตามข่าวที่ลูกเรียกร้อง”ประชาธิปไตย”และ”เสรีภาพ”แล้ว พ่อรู้สึกแปลกใจ ที่เราอยู่กันมาตั้งแต่ลูกเกิด ทนุถนอมอบรมมาอย่างดี แต่ลูกกลับไปเชื่อ”ใครก็ไม่รู้” ที่ไม่เคยแม้แต่จะให้เงินลูกสักบาท ให้กินข้าวสักจาน จนลืมคำสั่งสอนของพ่อแม่ แต่อย่างไรก็ดี พ่อเคารพความคิดเห็นของลูกเสมอ จะไม่ตำหนิติติงอะไร แต่จะปรับตัวประพฤติปฏิบัติให้ดีขึ้นตามที่ลูกต้องการ ดังนั้น พ่อกับแม่จึงคิดว่า ถึงเวลาที่เราควรจะทบทวนปรับตัวให้เข้ากับ”เสรีภาพ”ตามที่ลูกต้องการ พ่อจึงอยากจะแจ้งให้ลูกทราบดังนี้

1.บุญคุณต่อกัน คงไม่มีตามที่ลูกบอกว่า ลูกเกิดมาเพราะความสนุกของพ่อแม่ จึงไม่มีบุญคุณต่อตัวลูก ไม่ว่าจะเป็นการอดหลับอดนอนเลี้ยงดู ข้าวปลาอาหาร และอื่นๆที่เคยหยิบยื่นให้ ซึ่งทั้งหมดนั้นพ่อและแม่ไม่คิด ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแม้ลูกจะไม่เต็มใจก็ตาม

2.ค่าใช้จ่ายที่พ่อเคยให้ลูกใช้ในแต่ละเดือนนั้น พ่อคิดว่ามันเป็นการละเมิด”สิทธิเสรีภาพ”ของพ่อ เพราะเงินที่หามาได้นั้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อ พ่อจึงควรมี”สิทธิเสรีภาพ”ในการจับจ่ายใช้สอยโดยไม่ควรให้ลูกละเมิดสิทธิ์ของพ่อโดยการนำเงินของพ่อไปใช้ ดังนั้น พ่อจะตัดค่าใช้จ่ายที่เคยให้ลูกลงครึ่งหนึ่ง โดยในส่วนที่เหลือ เป็นการทำหน้าที่ในฐานะ”บุพการี”ที่รักสนุกจนทำให้ลูกเกิดมา ถือว่าเราใช้”สิทธิเสรีภาพ”ในขอบเขตของแต่ละคนตามที่ลูกต้องการ

3.ค่าที่พัก จริงๆแล้ว บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อกับแม่โดยมีลูกเป็นผู้อาศัย หรือเปรียบดังผู้เช่าที่สมควรจะเสียค่าเช่า ซึ่งตลอดมา ลูกไม่เคยจ่ายค่าเช่าเลยแม้แต่บาทเดียว รวมทั้งค่าน้ำค่าไฟก็ไม่เคยเสีย แต่ไม่เป็นไร พ่อยินดีให้อยู่ฟรีๆ แต่จากนี้ เราต้องเคารพ”สิทธิเสรีภาพ”ตามที่ลูกแสวงหา ดังนั้น ในเมื่อลูกใช้น้ำใช้ไฟที่พ่อไม่ได้ผลิตเอง แต่ซื้อมา ลูกจึงต้องรักษาเสรีภาพด้วยการ”ใช้เอง จ่ายเอง”ทั้งค่าน้ำค่าไฟ จะได้เท่าเทียมกัน เพราะพ่อกับแม่ก็ใช้เอง จ่ายเอง อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกัน

4.อาหารการกิน เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค และเพื่อให้ทันสมัยตามที่ลูกต้องการ นับจากนี้ พ่อกับแม่จะหันไปสั่งอาหารฟู๊ด แพนด้ามากินตามที่พ่อและแม่อยากกิน ส่วนลูกจะกินอะไร ก็แล้วแต่เสรีภาพของลูก โดยขอให้จ่ายเงินเองเพื่อความเสมอภาค หรือต้องการหุงหากินเอง ก็ใช้สิทธิ์ได้เต็มที่เพราะแม่เตรียมเอาไว้ให้แล้วในครัวโดยไม่คิดเงิน

5.เรื่องมรดก เพราะเราไม่มีบุญคุณต่อกัน ดังนั้น ลูกไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเป็นภาระเลี้ยงพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ขอให้ลูกเดินตามความฝันที่ลูกต้องการ เพราะอีกไม่นานพ่อกับแม่ก็คงตายแล้วตามที่ลูกๆด่าทอ และเพื่อตายอย่างสงบและไม่ให้เป็นภาระของลูกๆ พ่อจึงจัดการมรดกที่พอมีของพ่อ ทั้งบ้านและที่ดิน ตลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ พ่อจะเริ่มทยอยขายให้หมดก่อนพ่อตาย โดยเงินที่ขายมาได้นี้ พ่อจะแบ่งให้ลูกครึ่งหนึ่งในฐานะบุพการี ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง พ่อและแม่จะเก็บไว้กินไว้ใช้ รวมทั้งเอาไว้จัดงานศพ ส่วนที่เหลือจากจัดงานแล้ว ถือว่าเป็น”สิทธิเสรีภาพ”ของพ่อ พ่อจึงขอถวายวัดไปเพื่อสั่งสมบุญไปใช้ในภพหน้า

6.พ่อจะไม่บั่นทอนกำลังใจของลูกในการตามหา”เสรีภาพ”ในฝันตามที่ถูกสร้างวิมานไว้ แต่อยากให้ลูกคิดให้จงหนักว่าคนที่เขาวาดฝันให้ลูกนั้น เขามาเสี่ยงตายกับลูกหรือไม่ แต่สำหรับพ่อและแม่แล้ว หากลูกเป็นอะไรไป พ่อกับแม่คงใจสลายเพราะความรัก ซึ่งแม้จะเป็นความรักที่ลูกไม่เคยเห็นค่าเลยก็ตาม พ่อจึงขออวยพรให้ลูกปราศจากอันตรายทั้งปวง

7.เรื่องสุดท้าย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ต่อจากนี้ ลูกจะเรียกพ่อกับแม่ว่า”คุณ”เฉยๆก็ได้นะ ส่วนพ่อกับแม่จะขออนุญาตเรียกลูกว่า”ลูก” ตลอดไป

[#ด้วยรักและหวังดี]

จาก พ่อไดโนเสาร์ตัวหนึ่ง

Cr. เพื่อนทาง facebook

ทางที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องเสมอไป

เมื่อโตขึ้น เราจึงได้เรียนรู้ สิ่งที่เราคิดอยู่เสมอว่าเราเป็นคนดี ยึดถือสิ่งที่ถูกต้อง เดินตามกติกามาตลอด
แต่เมื่อวันหนึ่งเจอสิ่งไม่ถูกต้องเข้ามา ควรประเมินตัวเองว่าคุ้มหรือไม่ที่เราจะชน

ทางที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่ทางที่ถูกเสมอไป

ยอมแพ้เพื่อให้สามารถไปต่อได้

โลกก็เป็นแบบนี้

ปิ้ง กับ ย่าง ต่างกันอย่างไร?

เป็นเรื่องที่สงสัยกันมานานว่า “ปิ้ง” กับ “ย่าง” ต่างกันอย่างไร รู้หรือไม่ว่าการทำอาหารที่นำไปวางบนไฟนั้นมีความแตกต่างกัน มีวิธีทำที่ต่างกัน และเมนูอาหารนั้นก็ต่างกันอีกด้วย

“ปิ้ง” กับ “ย่าง” ใกล้กันแค่เปลวไฟแต่ต่างกันโดยสิ้นเชิง

การปิ้ง วิธีการนี้ใช้กับของแห้ง ของที่ไม่ใช่ชิ้นเนื้อสดๆ ที่ต้องใช้เวลาในการทำสุกนาน เช่นปลาหมึกบดแห้งตามรถเข็น ไข่ที่ผ่านการทำสุกมาแล้ว ข้าวเหนียวที่สุกอยู่แล้ว หรือกล้วย สิ่งนี้เรียกว่าปิ้งทั้งหมด

การย่าง คือการทำอาหารให้สุกโดยอาหารนั้นเป็นของสด เนื้อสดๆ หมูสดๆ เนื้อแดงๆ ที่ต้องใช้เวลาไน้การย่างนานจนกว่าจะสุกถุงเนื้อใน ถึงแม้ว่าจะเนื้อนั้นจะสุกแล้วก็ตามเนื้อด้านในยังคงนิ่ม ฉ่ำน้ำเล็กน้อย แบบนี้ถึงจะเรียกว่าอย่าง

สรุปง่ายๆ คือปิ้งเอาไว้ใช้กับของแห้งหรือของที่กินได้อยู่แล้ว ย่างคือใช้กับของสด แต่ก็ยังใช้สลับกันบางเป็นบ้างอย่างเท่านั้นเช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ที่จริงต้องเป็นย่าง ใช้คำนี้จนชินหู แต่ถึงอย่างไรคำสองคำนี้คือ “ราชบัณทิตยสถาน” หน่วยงานผู้จัดทำพจนานุกรม ไทย-ไทย และบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่างๆ อย่างเป็นมาตรฐานที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน